กิจกรรมของรพ.
รพ.ราชพฤกษ์ห่วงใย!! จัดเต็มความรู้ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้เร็ว รักษาทัน ป้องกันได้
ใช่ว่าโรค “มะเร็ง” จะต้องร้ายแรงจนทำให้เกิดความสูญเสียเสมอไป เพราะยังมีมะเร็งในอีกหลายอวัยวะ ที่หากพบเร็วก็สามารถรักษาให้หายได้ อย่างเช่น “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ที่ในปัจจุบันเราทั้งคัดกรอง ป้องกัน และรักษาได้
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2565 โรงพยาบาลราชพฤกษ์ ได้จัดบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ” รู้เร็ว รักษาทัน ป้องกันได้ โดยโรงพยาบาลราชพฤกษ์ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลราชพฤกษ์ ชั้น 13 โดยวิทยากรบรรยายพิเศษ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง นายแพทย์กฤติน ขจรวงศ์สถิต เฉพาะทางศัลยศาสตร์อนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนักผศ.พญ.เอื้อมแข สุขประเสริฐเฉพาะทางอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาซึ่งได้รับเกียรติ จากรศ.พญ.จิราภรณ์ ศรีนัครินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์โรงพยาบาลราชพฤกษ์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
สัญญาณเตือนมะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้ไว้ เพื่อสังเกตตัวเอง
นายแพทย์กฤติน ขจรวงศ์สถิต เฉพาะทางศัลยศาสตร์อนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กล่าวว่า โรคมะเร็งลำใส่ใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่มีอาการ คือการปวดท้อง ท้องผูก ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือ ถ่ายเป็นมูกเป็นเลือด เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่มีอาการพวกนี้ ควรจะเข้าหาสถานพยาบาลเพื่อการตรวจวินิจฉัย
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มที่ยังไม่มีอาการ แต่ก็จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีอายุมากว่า 45 ปีขึ้นไป หรือประชาชนที่เคยมีประวัติโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง หรือประชาชนที่เคยมีประวัติติ่งเนื้อในลำไส้ ก็อาจจะต้องมาตรวจคัดกรอง ว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง ลำไส้ใหญ่หรือเปล่า
ด้านผศ.พญ.เอื้อมแข สุขประเสริฐเฉพาะทางอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา กล่าวว่า
เมื่อเป็นมะเร็งลำไส้ โอกาสที่จะหายขึ้นอยู่กับระยะที่เป็น ถ้าอยู่ในระยะที่ 1 คือระยะเริ่มต้น หลังผ่าตัดเสร็จไม่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาหลังผ่าตัด โอกาสหายขาดมากกว่า 90 – 95 เปอร์เซ็นต์ ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มีการลุกลามขึ้นมาหน่อย แต่ยังไม่ได้รุกลามไปต่อมน้ำเหลืองส่วนใหญ่ก็มีโอกาสหายขาดได้ อาจจะต้องมีการรักษา หลังผ่าตัดอีกสักเล็กน้อย แต่โอกาสหายขาดก็ 80 เปอร์เซ็นต์
ส่วนระยะที่ 3 คือเริ่มรุกลามไปที่ต่องน้ำเหลือง จะรักษาด้วยการ ผ่าตัด แต่เซลล์เล็กๆ ยังอยู่ ภาษาหมอเราอาจจะเรียกว่า ‘เชื้อชั่วไม่ยอมตาย’ หลังผ่าตัด ก็ยังมีโอกาสหายขาด 60 – 70 เปอร์เซ็นต์ และ ระยะที่ 4 ถ้าเป็นมะเร็งชนิดอื่น ระยะที่ 4 แพร่กระจายไปตับ ไปปอด โอกาสหายขาดแทบไม่มี
“แต่มะเร็งลำไส้ใหญ่ ถ้าเราเจอรอยโรคที่ตับ รอยโรคนั้นไม่ใหญ่สามารถ ผ่าตัดได้ แล้วก็ค่อยจัดการด้วยเคมีบำบัด แล้วก็กำจัดเชื้อชั่ว ซึ่งอย่างนี้เราก็หวังว่าจะมีโอกาสหายขาดได้ “
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกัน รักษา เอาชนะได้ด้วยการ ส่องกล้องลําไส้ใหญ่
นายแพทย์กฤติน กล่าวถึง เทคโนโลยีการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มีเทคโนโลยีในการรักษาที่ค่อนข้างดี ตั้งแต่วินิจฉัย การผ่าตัด รวมถึงการให้ยาเคมีบำบัดอาจจะรวมถึงการฉายแสงร่วมด้วย เพราะฉะนั้นในการรักษาก็จะแบ่งขึ้นอยู่กับระยะของตัวโรค
“การส่องกล้องในปัจจุบันเราสามารถวินิจฉัย ได้เลยว่าติ่งเนื้อแบบไหนใช่มะเร็ง ถ้าเจอติ่งเนื้อในระยะเริ่มต้นเราสามารถผ่าตัดผ่านกล้องส่องลำไส้ได้ โดยที่คนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บผ่าตัดเสร็จก็สามารถกลับบ้านได้เลย”
พฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็งลำใส้ ที่คุณอาจทำโดยไม่รู้ตัว
ผศ.พญ.เอื้อมแข กล่าวว่า การก่อเกิดเป็นมะเร็งเป็นก้อน มันต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี พฤติกรรมของคนที่เกิดมะเร็งเกิดจากสารที่ก่อมะเร็ง อย่างเช่น การกินของปิ้งๆย่างๆ โดยเฉพาะปิ้งเกรียมๆเพราะจะมีสารก่อมะเร็งเยอะ ทำให้การสะสมพวกนี้ไปเรื่อยๆและใช้เวลานาน
“แต่จะมีมะเร็งที่ ‘สัมพันธ์กับกรรมพันธุ์’ ที่เกิดจากการผิดปกติของยีนตั้งแต่เราเกิดมา กลุ่มนี้จะเป็นมะเร็งในคนอายุน้อย และการก่อมะเร็ง เกิดขึ้นโดยใช้เวลาไม่นานอาจจะไม่มีอาการแสดงอะไรมาก่อนเลย แต่อยู่ๆก็พบว่า เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา แล้วแถมอาจะเป็นระยะที่แพร่กระจาย
ยาเคมีบำบัด วิธีดีที่สุดในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
ผศ.พญ.เอื้อมแข กล่าวต่อ สำหรับยา ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มยาเคมีบำบัด จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับระยะที่เป็น ผลข้างเคียงอาจมีเหนื่อย มีเพลีย อาจจะผมบางลง โชคดีที่มะเร็งลำไส้ใหญ่เวลาให้ยาเคมี อาจจะยังไม่ทำให้ผมร่วง แต่อาจจะมีผมบางลงได้ ก่อนที่เราจะให้ยาต้องต้องทำความเข้าใจและวิธีป้องกันให้กับคนไข้ หรือถ้ามีผลข้างเคียงจริงๆเราก็สามารถจะลดขนาดยาตามอาการของโรคได้
ป้องกันการเกิดซ้ำของมะเร็ง
ผศ.พญ.เอื้อมแข กล่าวว่า หมอจะบอกคนไข้ว่า คุณมีโอกาสปรับเป็นซ้ำ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงระยะเวลา 5 ปี แต่เราสามารถช่วยลดการกลับเป็นซ้ำ ได้ด้วยการให้ยาเคมี บำบัด ซึ่งจะช่วยได้ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่า คนไข้ 100 คนที่มารักษา จะมีคนไข้ประมาณ 40-50 คน ที่ไม่ต้องได้อะไรก็อาจจะอยู่ได้ เพียงแต่หมอไม่รู้ว่าคุณ จะเป็นคนกลุ่มนั้นหรือไม่ เพราะฉะนั้นโดยหลักการทั่วไปให้ต้องยาเคมีบำบัดทุกคน เพื่อจะช่วยยกระดับการกลับเป็นซ้ำของคนไข้ ให้มันได้ 60 -70 เปอร์เซ็นต์ แต่ในทางตรงกันข้าม การที่หมอให้ยาเคมี ไม่ได้การันตรี 100 เปอร์เซ็นต์ ว่าจะไม่กลับเป็นซ้ำ เพราะแค่ยกระดับขึ้นมา 10-15 เปอร์เซ็นต์ คุณยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ อีก 10 -15 เปอร์เซ็นต์ แล้วแต่ระยะ
ปรับไลฟ์สไตล์ลดเสี่ยงมะเร็งกลับเป็นซ้ำ
ผศ.พญ.เอื้อมแข กล่าวว่า ช่วงเวลาที่เรากำลังรักษาคนไข้ด้วยเคมี อาหารที่จำเป็นจริงๆคือ อาหารที่มีพลังงาน และโปรตีน เพราะต้องการพลังงานที่สูงมาก ในการช่วยให้ร่างกายฟื้นกลับมาเพื่อที่จะให้ คีโมได้ครบตามไซเคิล
หลังจากรักษาหายแล้วให้เคมีบำบัดจบ ผ่าตัดเรียบร้อย ควรลดเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อแดง ลดของหมักของดอง เพราะของพวกนี้มันสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็ง และการกลับเป็นซ้ำ และต้องเพิ่มการกินผักให้มากขึ้น ลดไขมัน และออกกำลังกายอันนี้สำคัญเพราะความอ้วนสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นถ้าเรารักษามะเร็งหายแล้ว การที่เราควบคุมน้ำหนักให้ดี อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ลดการกินอาหารที่มีไขมันจะช่วย ลดการกลับเป็นซ้ำได้ และการออกกำลังกาย ไม่น่าเชื่อว่า อย่างมะเร็งเต้านม การให้ยาเคมีบำบัด เพื่อลดการกลับเป็นซ้ำ พบว่าหลังจากที่ออกกำลังกาย อาทิตย์หนึ่ง 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีคุณสามารถลดการกลับมาเป็นซ้ำได้เท่ากับการให้ยา เคมีบำบัด ผศ.พญ.เอื้อมแข กล่าว